วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Alert !!!!! Bearish Convergence At Fibonacci Number

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Odds (ก๊อบปี้มาให้อ่านจาก www.Chaloke.com)

ลุงโฉลกเรียนเรื่องการลงทุนกับอาจารย์ชาวญี่ปุ่นสมัยที่อยู่ที่ประเทศอังกฤษ  สมัยนั้นไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเลย (เดี๋ยวนี้ก็ยังเสมอต้นเสมอปลาย ยังไม่รู้เรื่องตามเดิม) และภาษาอังกฤษก็อ่อนแอมากทั้งคู่ (เดี๋ยวนี้ก็ยังไม่แข็งแรง) เรียนลำบากมาก แต่ความที่ศิษย์อยากเรียน และอาจารย์อยากสอน ก็ทำให้ได้ความรู้มาบ้าง วันนี้อยากจะเอาความรู้เรื่อง Odds มาสอนต่อ ไม่รู้จะแปลเป็นภาษาไทยว่าอะไร อาจจะแปลว่า แต้มต่อรองกระมัง ใครรู้ช่วยสงเคราะห์เป็นวิทยาทานด้วย

Trading is basically playing the odds in the stock market ………. แปลว่าอะไรดีครับ ถ้าเราเป็นเจ้ามือหวยเลขท้ายสองตัว จำนวนตัวเลขมี 100 ตัวเลข เลขที่ออกมีเพียงตัวเดียว ถ้ารางวัล 60 บาท รวมค่าบริหาร 10 บาท เป็นต้นทุน 70 บาท Odd ก็เท่ากับ 100:70 คือรับประกันได้เลยว่าเจ้ามือกำไร 30% เสมอ ทุกงวด หรือในการพนันกีฬา ทีม A แข่งกับทีม B ถ้าอัตราการต่อรองว่าทีม A จะชนะ เท่ากับ 10:7 ก็แปลว่า ถ้าแทง 10 บาท ทีม A ชนะ ก็จะได้เงิน 17 บาท คือได้ 10 บาทคืนมา และที่ชนะ ได้อีก 7 บาท คำว่า Odds ก็ทำนองนี้แหละครับ ขอใช้คำว่า Odds ต่อไปก่อนจนกว่าจะรู้คำภาษาไทยก็แล้วกัน
ถ้า Odds is in our favour เราก็ชนะเสมอ สมมุติว่าเลขท้ายสองตัว รางวัล 110 บาท เราแทงหมด 100 ตัว ตัวละบาท ใช้เงิน 100 บาท ก็ต้องถูก 1 ตัวแน่นอน ได้เงิน 110 บาท ตกลงกำไร 10% แน่นอน ดังนั้น ถ้าเราสามารถหาวิธีที่ทำให้ Odds is in our favour เราก็ได้กำไรเสมอเช่นเดียวกัน การแทงหวย Odds มัน in favour เจ้ามือเสมอ คนเล่นหวยจึงมีแต่คนโง่ แต่ในการลงทุน เรามีสิทธิที่จะหาทางสร้างระบบให้ Odds is in our favour ได้ การลงทุนอย่างมีระบบ ทำให้เรามีสิทธิที่จะลงทุนอย่างสบายใจ โดยที่รู้ว่าเราจะได้กำไรแน่นอน
Trading is basically playing the odds in the stock market ข้อความนี้เป็นความจริงแท้แน่นอนครับ ตลาดมีแค่สองทาง คือขึ้นหรือลงเท่านั้นเอง ถ้าเราเสี่ยงโดยไม่คิดเลย เข้าไปซื้อตอนตลาดเปิด ขายตอนตลาดปิด ถ้าตลาดขึ้นเราก็ได้กำไร ถ้าตลาดลงเราก็ขาดทุน Odds ของตลาดจะขึ้นหรือลงนั้น เท่ากับ 1:1 คือมีสิทธิ์เท่ากัน ดังนั้น นักลงทุนที่ลงทุนตามยถากรรม ไม่มีระบบ จึงมี Odds 1:1 คือไม่กำไร ไม่ขาดทุน แต่ต้องเสียค่า Commission ครึ่งเปอร์เซ็นต์ แปลว่า ครบ 200 ครั้ง ก็หมดตัวพอดี
แต่การลงทุนไม่ได้มีแค่ค่า Commission ยังมี Greed and Fear เป็นตัวประกอบ พอได้กำไรก็โลภมาก (Greed) เพิ่มเงินลงทุน ครั้งต่อไปขาดทุน ก็ทำให้การขาดทุนมี percentage สูงกว่ากำไร พอขาดทุน ครั้งต่อไปก็กลัว (Fear) ลดเงินลงทุน ครั้งต่อไปดันกำไร ก็ทำให้การได้กำไรมี percentage น้อยกว่าการขาดทุน เมื่อรวม Greed and fear เข้ากับค่า Commission แล้ว ลงทุนไม่ถึง 20 ครั้งก็หมดตัว
ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องมีระบบการลงทุน เพราะการใช้ระบบจะไม่มี Greed and Fear เข้ามาเป็นส่วนประกอบ ระบบที่ใช้จะต้องออกแบบให้มี Odds in our favour คือระบบที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ถ้าทำตามระบบแล้ว จะได้กำไรแน่นอน ระบบแรกของเราก็คือระบบที่ซื้อ at High และขาย at Low เพราะเมื่อตลาดขึ้น สินค้าย่อมแพงขึ้น เราซื้อ at High เพื่อให้มันแพงขึ้นอีก (จะได้ขายเอากำไร) และเมื่อตลาดลง สินค้าก็ถูกลง เราขาย at low เพื่อให้มันถูกลงอีก (จะได้ซื้อคืนเอากำไร) ระบบนี้ลุงโฉลกสอนเมื่อสามปีที่แล้ว วันนี้จะนำมาอธิบายอีกครั้งหนึ่ง
ซื้อ at High ขาย at Low เป็นหัวใจของระบบ เราต้องมาทำความเข้าใจเสียก่อนว่า ซื้อ at High แปลว่าอะไร High ก็แปลว่า ที่ราคาสูง ที่ราคาแพง เราต้องการกำไร คือซื้อแล้วราคาขึ้นต่อ ความคิดนี้กลับกันกับความคิดของตลาดโดยสิ้นเชิง High แปลว่าราคาสูง เราก็ซื้อทุกครั้งที่ราคาสูงขึ้น โดยเอาค่าสูงสุดของ previous peak เป็นมาตราฐาน และในทำนองกลับกัน การขาย at Low ก็เอาค่า previous Trough เป็นมาตราฐาน

 
ยกตัวอย่างการใช้ระบบ ซื้อ at High ขาย at Low ในการลงทุน นำมาสมมุติในการซื้อขาย SET Index ระบบการลงทุนของเราใช้ Closing price เป็นราคาซื้อขาย โดยกำหนดที่เวลาประมาณ 5 นาทีก่อนตลาดปิด ยกตัวอย่าง SET Index วันที่ 20/08/07 มี Peak ที่ 792.02 ระบบของเราก็สั่งไปที่ Broker ว่า ถ้าราคา 5 นาทีก่อนตลาดปิด สูงกว่า 792.02 ก็ให้ซื้อ

วันที่ 31/08/07 ราคาขึ้นไปปิดเหนือ 792.02 เราซื้อที่ราคาปิด 813.21 กำหนด Stop loss ถ้าราคาปิดต่ำกว่า previous Trough ที่ 788.21

วันที่ 05/09/07 ตลาดมี New Peak ที่ 820.19 ถ้าราคาก่อนปิด สูงกว่า 820.19 ก็ซื้อเพิ่ม และถ้าตลาดปิดต่ำกว่า New Trough ที่ 810.86 ก็ Stop loss 

หลังจากนั้นตลาดก็ขึ้นมาตลอด ระบบของเราก็ซื้อทุกครั้งที่ราคาปิดสูงกว่า previous Peak และเลื่อน Stop loss ตามขึ้นมาเรื่อย ทุกครั้งที่ตลาดมี new Trough

สมมุติว่า Money management ของเราเป็นลักษณะของ Pyramid 5 ชั้น Buy-1 ก็ซื้อ 5 ส่วน Buy-2 ซื้อ 4 ส่วน Buy-3 ซื้อ 3 ส่วน Buy-4 ซื้อ 2 ส่วน Buy-5 ซื้อ 1 ส่วน รวมทั้งสิ้น 15 ส่วน ที่ Average 835.6607 87 – Commission = 833.57 และขายที่ 884.53 – Commission = 882.32 ได้กำไร 731.21 จากเงินลงทุน 12,534.92 หรือ 5.83% ในเวลาไม่ถึง 2 เดือน
สมาชิกทดลองนำไปใช้ดูกับหุ้นแต่ละตัวดูนะครับ ระบบนี้เป็นระบบพื้นฐานโบราณที่สุดของชมรม chaloke.com เป็นระบบที่มี Odds in our favour ไม่ต่ำกว่า 115 : 100 (กำไรกว่า 15% ต่อปี) สูงกว่าเอาเงินไปฝากธนาคาร ถ้านำไปใช้กับตลาดที่มี Leverage 1:5 ก็จะกลายเป็น 75% หรือใครจะนำไปใช้กับ Option trade ที่มี Leverage สูงมากขึ้นอีก ก็หวังผลได้มากขึ้นอีก และถ้าไม่ทำตามระบบ ก็ขาดทุนได้มากขึ้นอีกเช่นเดียวกัน
หลังจากรับกฐินปีนี้แล้ว หลวงลุงของพวกเราจะลาสิกขาออกมาลงทุนในตลาดกับพวกเราอีกครั้งหนึ่ง เวลาผ่านไปเร็วนะครับ เกือบครึ่งปีที่ท่านไปบวช หวังเรียนวิทยายุทธออกมาเป็นผู้เยี่ยมยุทธในการลงทุน ท่านไปฝึกวิทยายุทธอยู่ในป่าที่ยอดเขาวันชัย ที่ปากช่อง วันอังคารที่ 31 เดือนนี้ ท่านจะมาฉันเช้าที่บ้านลุงโฉลก (ท่านฉันมื้อเดียว) เวลาประมาณ 08.00 น. และท่านจะแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องความพอเพียงอันเป็นกำไรอย่างยิ่งให้พวกเราฟัง ขอเชิญชวนสมาชิกทุกคนที่สนใจ มาพร้อมกันที่บ้านลุงโฉลกก่อน 08.00 น. หลังจากพระธรรมเทศนาแล้ว ท่านจะแจกพระพุทธรูปของชมรม chaloke.com รุ่นที่ 1 เป็นพระพุทธรูป Ceramic ปางห้ามพยาธิ คือยกพระกรขึ้นข้างหนึ่ง หลังจากนั้น ใครมีเวลาก็เชิญอยู่กินข้าวกลางวันด้วยกัน
วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน เชิญไปร่วมงานถวายพระพุทธรูปปางนาคปรก เสี่ยอุ้ยและเสี่ยหมู ร่ำเรียนวิทยายุทธไปทำกำไรในตลาดโลกมามาก ก็ร่วมกันสร้างพระพุทธรูปถวายวัดแถวๆปากช่องอีกเหมือนกัน แผนที่วัดและหมายกำหนดการ เสี่ยอุ้ยจะได้นำขึ้น web ต่อไป ขอเชิญพวกเราทุกคนนะครับ
ออกพรรษาปีนี้ลุงโฉลกมีงานกฐินหลายงาน และมีงานบุญท่วมท้นตามเคย ที่สำคัญคืองานถวายพระพุทธรูปโลหะปางอุ้มบาตร สูงกว่า 6 เมตร ที่วัดกุฏิ เพชรบุรี ในวันที่ 5 ธันวาคม เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันนั้นจะมีพิธีบรรจุของมีค่าไต้ฐานพระ บรรจุวัตถุมงคลในองค์พระ บรรจุแก้วแหวนเงินทองในบาตรพระ และผู้แทนพระสังฆราชประเทศอินเดีย จะมาร่วมบรรจุพระอังคารธาตุของพระพุทธเจ้าบนยอดเศียรพระ งานมีทั้งวันนะครับ เริ่มแต่เช้ามืด ชิงฤกษ์สุริยัน เวลาประมาณ 05.45 น. คงจะเสร็จสิ้นตอนบ่ายๆ (เสร็จเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น) งานนี้เรามีการถวายอาหารเพลพระทั้งวัด และมีอาหารเหลือเฟือสำหรับพวกเราทุกคน ใครที่ต้องการไปช่วยงานก็ไปตั้งแต่วันที่ 4 ไปนอนที่วัด งานนี้อยากขอคนประสานงานสมาชิกสัมพันธ์ มีใครอาสาช่วยไหมครับ ช่วยจัดการรวบรวมของมีค่าและวัตถุมงคลต่างๆที่จะบรรจุ ช่วยจัดเรื่องโรงทาน เรื่องเครื่องขยายเสียง ฯลฯ ตอนนี้ที่สมาชิกนำมาให้ที่บ้านลุงโฉลกก็มากมายแล้ว แต่อยากให้ทุกคนมีโอกาสได้ทำบุญครั้งนี้ร่วมกัน เชิญทุกคนนะครับ พระเครื่องต่างๆมากมายที่สะสมเอาไว้ ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร ก็นำมาบรรจุใส่ไว้ในองค์พระด้วยกัน
ติดประกาศ จันทร์ 22 ต.ค. 07@ 10:50:33 ICT โดย chalerm

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Weekly update ระบบยังเขียวอยู่.........


SYSTEM = EMA5EMA20CROSSOVER
STATUS = BULL
POSITION = NONE (รอเริ่มเล่นที่แดงแรกเพราะจะไม่เปิดสถานะกลางทาง)

Weekly update ระบบยังเขียวอยู่.........


SYSTEM = EMA5EMA20CROSSOVER
STATUS = BULL
POSITION = NONE (รอเริ่มเล่นที่แดงแรกเพราะจะไม่เปิดสถานะกลางทาง)

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

UPDATE กราฟก่อนเริ่มทดลอง

ขอ update กราฟก่อนแล้วกันตอนนี้ระบบยังเขียวอยู่ตามรูปแต่เราจะยังไม่เปิด Position ใดๆทั้งนั้นเพราะเราจะเปิดสถานะในวันแรกที่เกิดสัญญาณเท่านั้น ฉะนั้นช่วงนี้ก็อดทนรอให้ระบบเปลี่ยนเป็นสีแดงแล้วค่อยเปิดสถานะ Shot แล้วกัน

วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Money Management (30%)

Money Management แปลง่ายๆว่าจะบริหารเงินที่มียังไงไม่ให้หมดตูด รวมถึงการทำให้เงินที่มีเจริญงอกงาม แต่ในที่นี้เราจะเอาแค่อย่างแรกคือบริหารอย่างไรไม่ให้เจ๊ง เนื่องสินค้าที่เราจะเทรดคือตัว SET50 Index Futures ก็ต้องมาทำความรู้จักกับมันก่อน ว่าเนื่องด้วยขี้เกียจจึงให้ตามไปอ่านดูที่นี่ http://www.ktzmico.com/th/productsandservices/derivatives-center.aspx#set50indexfuture เมื่ออ่านจบแล้วจะพบว่าการเทรด 1 สัญญา(ในการทดลองนี้เราจะเทรดแค่ 1 สัญญา) จะต้องใช้เงินอย่างน้อยประมาณ 80000 บาท (IM+MM) และเราจะกันหน้าตักเท่าไหร่ดีที่ทำให้ไม่หมดตูดจากการขาดทุนที่เกิดจากการสับหลอกของระบบ ซึ่งในที่นี้เราจะกันไว้สัก 3 เท่าละ่กัน ดั้งนั้นเราก็จะได้วงเงินในการเทรด SET50 Index Futures 1 สํญญา เท่ากับ 250000 บาท (ตัวเลขกลมๆ) ซึ่งบางตำราจะใช้วิธีคำนวนโดยเท่ากับ IM+MM+2เท่าMaxDrawdown แต่ขี้เกียจทำก็เลยขอใช้วิธีตามที่คุณลุงโฉลก แห่ง chaloke.com ได้สั่งสอนใว้ สรุป เราจะเทรด SET50 Index Futures 1 สัญญา โดยใช้เงินหน้าตัก 250000 บาท ระบบที่ใช้คือ Two Moving Average Crossover (EMA5,EMA20) โดยจะเทรดเป็น Stop AND Reverse (เปิด Long ปิด Shot, ปิด Long เปิด Shot)

เส้นค่าเฉลี่ย หรือ Moving Average

เส้นค่าเฉลี่ย หรือ Moving Average

นับเป็นเครื่องมือสำคัญ เครื่องมือหนึ่งในการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยมีส่วนช่วยในการมองเห็นถึงแนวโน้มการเคลื่อนที่ของราคาหุ้น รวมถึงจุดที่เปลี่ยนแนวโน้ม เพื่อเป็นสัญญาณซื้อขาย รวมถึงแนวรับแนวต้าน ของราคาหุ้นในช่วงเวลาต่างๆ

ซึ่งกลยุทธ์การลงทุนนั้น จะกำหนดเส้นค่าเฉลี่ย ในจำนวนวันที่แตกต่าง กัน ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาการลงทุนของแต่ละบุคคล หรือรอบการเคลื่อนที่ของหุ้นตัวนั้น ว่าการกำหนดด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเท่าใด ที่น่าจะได้ผลตอบแทนสูงที่สุด

โดยเส้นค่าเฉลี่ยที่ใช้กันทั่วไปมีตั้งแต่
5 วัน (1 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
10 วัน (2 สัปดาห์) ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
25 วัน (ประมาณ1 เดือน) ใช้สำหรับการลงทุนระยะค่อนข้างปานกลาง
75 วัน (ประมาณ1 ไตรมาส) ใช้สำหรับการลงทุนระยะกลาง
200 วัน (ประเมาณ 1 ปี) ใช้สำหรับการลงทุนระยะยาว

ซึ่งจำนวนวันเหล่านี้จะเป็นตัวบอกถึงราคาต้นทุนเฉลี่ยของคนที่ถือหุ้นมาแล้วในช่วงระยะเวลา แตกต่างกันเช่น
ปัจจุบันราคาหุ้นยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25วัน ดังนั้นจึงบอกได้ว่า มีคนที่ถือหุ้นในช่วง 25วันที่ผ่านมา หรือนักลงทุนระยะกลางที่ยอมถือหุ้นนานกว่า 1 เดือน มีต้นทุนต่ำกว่า ราคาปัจจุบัน ซึ่งนักลงทุนเหล่านี้ ยังมองว่าหุ้นเป็นแนวโน้มขาขึ้นตราบที่ราคาหุ้นยังยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 25วัน

ดังนั้นการหาสัญญาณ ซื้อหรือขายหุ้นจากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่




สัญญาณซื้อ คือ

เมื่อราคาเคลื่อนขึ้น และทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยตามช่วงระยะเวลาต่างๆ เช่น 5วัน, 10 วัน
เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ตัดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว
เรียกว่า (Golden cross)

สัญญาณขายคือ

เมื่อราคาเคลื่อนลงและทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ยตามฤฤฉช่วงระยะเวลาต่างๆ เช่น 5วัน, 10 วัน
เส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น ตัดลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว
เรียกว่า (Dead cross)




ดังในภาพจะเห็นว่า ดัชนี SET index ปรับตัวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 5 วัน (สีเขียว) 10วัน(สีแดง) และ 25วันสีฟ้า นับแต่ต้นเดือนเมษายน หรือ (4/2 จากตารางกราฟ) ซึ่งจะเห็นว่าเกิดแรงขายจากนักลงทุนระยะสั้น บางครั้งเมื่อหุ้นต่ำกว่า เส้นค่าเฉลี่ย 5วัน แต่เมื่อราคาถึงเส้นค่าเฉลี่ย 10วัน หุ้นจะสามารถเด้ง กลับได้หาก นักลงทุนระยะ 10วันยังมองว่า หุ้นยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นอยู่ ดังนั้นเมื่อถึงระดับดังกล่าว จะมีแรงซื้อ ซ้ำเพราะราคาหุ้นยังถูกอยู่กว่าราคาในอนาคต ส่วน นักลงทุนระยะกลาง เช่น 25วัน จะยังคงถือหุ้น ตราบที่ SET index ไม่หลุด 730 จุด ดังที่เห็นในกราฟเป็นต้น

ซึ่งตัวอย่างนี้ แสดงให้เห็นว่าบางครั้ง การซื้อขายระยะสั้น ตามสัญญาณ 5 วัน และ 10วันอาจให้ผลตอบแทนน้อยกว่าการถือระยะยาวเป็นรอบ จากการดูเส้นค่าเฉลี่ยที่ยาวขึ้น แต่อย่างไร เส้นค่าเฉลี่ย ไม่มีกำหนดตายตัวว่า ค่าไหนดีที่สุด ขึ้นอยู่กับนิสัยหุ้นตัว นั้น สภาวะตลาดโดยรวม

ดังนั้นกลยุทธ์การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาการถือครองหุ้น ซึ่งจะเป็นตัวเลือกด้วยการใช้เส้นค่าเฉลี่ยจาก จำนวนวันที่ต่างๆกัน แต่ ความแม่นยำ นั้นอาจขึ้นจากนิสัยของหุ้นตัวนั้น หรือ ผู้ที่ลงทุนในหุ้นตัวนั้นส่วนมาก เขาใช้เส้นค่าเฉลี่ยเท่าไหร และแบบใด

ส่วนจุดอ่อนของการใช้เส้นค่าเฉลี่ย อาจเกิดขึ้นได้ หากหุ้นในช่วงนั้น เป็นลักษณะ Side way หรือแกว่งตัวในกรอบนานๆ อาจจะทำให้เส้นพันไป มา จึงเกิดทั้งสัญญาณหลอก ให้ ซื้อขาย ได้บ่อย ก็ได้ ดังนั้น เส้นค่าเฉลี่ยนั้นจะเหมาะสำหรับการวิเคราะห์ในช่วงตลาดที่ มี Trend หรือแนวโน้ม

ประเภทของเส้นค่าเฉลี่ย
ประเภทของเส้นค่าเฉลี่ย มีด้วยกันหลายแบบ ซึ่ง ผู้ลงทุนอาจจะใช้ราคา เปิด หรือ ราคาปิด ราคาสูงสุด ราคาต่ำสุด หรือ ราคาเฉลี่ย มาเป็นตัวกำหนด สำหรับ การหาค่าเฉลี่ยก็ได้ ซึ่ง ส่วนใหญ่ที่ เราใช้อยู่ทั่วไป จะนำราคาปิดของหุ้นในแต่แท่งเทียน มาเป็นข้อมูลสำหรับการคำนวนค่าเฉลี่ย ดังเช่น

การหาเส้นค่าเฉลี่ย แบบธรรมดา (SMA, Simple Moving Average)
เส้นค่าเฉลี่ยแบบธรรมดา มาจากการหาค่าเฉลี่ยราคาหุ้น ในช่วงเวลาที่กำหนด เป็น N วัน
SMA คำนวณมาจาก
SMAt = 1/N(Pt+..........+Pt-N+1)
โดย P = ราคา
T = วัน t
N = จำนวนวันในค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่





ส่วนการหาเส้นค่าเฉลี่ย แบบ EMA (Exponential Moving Average)
นั้นเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก โดยการให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา และถ่วงน้ำหนักให้ค่าสุดท้ายมีความสำคัญเพิ่มขึ้น

ซึ่งวิธีนี้เป็นการพยายามแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากวิธี SMA กล่าวคือ EMA นั้น จะถ่วงน้ำหนักโดยให้ความสำคัญกับวันสุดท้ายมากที่สุด และจะเอาค่าทุก ๆ ค่ามาหาค่าเฉลี่ย โดยจะไม่ทิ้งข้อมูลเก่าที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้ค่าทุกค่าสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของราคา

หลักการคำนวนคือ
ขณะที่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวอื่น ๆ ให้ความสำคัญต่อคาบเวลา แต่ EMA จะให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่เรียกว่า SMOOTHING FACTOR (SF) หรือ SMOOTHING CONSTANT โดยที่ SF = 2/(n+1) ซึ่งวิธีการสร้าง EMA มีสูตรการคำนวณคือ

EMA = EMAt-1 + SF(Pt - EMAt-1)
เมื่อ EMAt คือ ค่าของ Exponential Moving Average ณ เวลาปัจจุบัน
EMAt-1 คือ ค่าของ Exponential Moving Average ณ คาบเวลาก่อนหน้า
SF คือ ค่าของ Smoothing Factor = 2/(n+1)
Pt คือ ราคาปัจจุบัน
n คือ จำนวนวัน

* หมายเหตุ : การคำนวณค่าเฉลี่ยของวันแรก จะใช้ราคาในวันแรกนั้นเป็น EMA

ซึ่งทั้ง EMA และ SMA นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่ต่างก็จะเลือกใช้แบบใด แบบหนึ่ง จากทั้งสองแบบนี้ เพียงแต่ อาจจะขึ้นอยู่กับวิธีการวิเคราะห์

• โดยการวิเคราะห์ แบบ SMA นั้นจะเห็นได้การเคลื่อนที่ของเส้นค่าเฉลี่ย มักจะช้ากว่า EMA ซึ่งการหาสัญญาณ ซื้อขายจากการตัดของเส้น EMA จะแม่นยำกว่า

• ส่วนการวิเคราะห์แนวรับแนวต้านจากเส้นค่าเฉลี่ยนั้น SMA จะดีกว่า เนื่องจากเป็นการคำนวน ฐานต้นทุนของนักลงทุนที่แท้จริง จึงทำให้บ่อยครั้ง เป็นแนวรับแนวต้านที่สำคัญ

• ส่วนหุ้นบางตัวนั้น อาจจะวิเคราะห์ด้วย EMA ดีกว่า SMA หรือ SMA ดีกว่า EMA นั้นขึ้นอยู่กับ ผู้เล่นหุ้นส่วนใหญ่ของตัวนั้น จะใช้ เส้นอะไร ดู เพราะจากมุมมองที่เหมือนกัน จึง ทำให้เกิดสัญญาณ ที่เหมือนกัน จนเป็น ความแม่นยำที่เกิดขึ้นก็เป็นได้